เมนู

ร่างกายนี้ว่าเป็นของเรา ย่อมยังสงสารอันน่ากลัวให้
เจริญ ปุถุชนเหล่านั้นย่อมถือเอาภพใหม่อีก กุลบุตรผู้เป็น
บัณฑิตเหล่าใด ละเว้นร่างกายนี้อันฉาบทาแล้วด้วยคูถ
ดังบุรุษผู้ประสงค์ความสุข อยากมีชีวิตอยู่ เห็นอสรพิษ
แล้วหลีกหนีไปฉะนั้น กุลบุตรเหล่านั้นละอวิชชาอันเป็น
รากเง่าแห่งภพแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสนะจักปรินิพพาน.

จบกัปปเถรคาถา

อรรถกถากัปปเถรคาถาที่ 5



คาถาของท่านพระกัปปเถระมีว่า นานากุลมลสมฺปุณฺโณ ดังนี้
เป็นต้น. เรื่องนั้นนี้เหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
ท่านพระกัปปะแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการมาในพระพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญเป็นอันมากไว้ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิตธัตถะ ได้บังเกิดในตระกูลที่สมบูรณ์
ด้วยสมบัติเป็นอันมาก พอบิดาล่วงไป รู้เดียงสาแล้ว ประดับประดา
ต้นกัลปพฤกษ์ ด้วยผ้าอันวิจิตรด้วยสีที่ไม่สดนานาชนิด, ด้วยอาภรณ์
หลากชนิด, ด้วยแก้วมณีต่างชนิด, และด้วยมาลาพวงดอกไม้เป็นต้น
มากมายหลายชนิดแล้ว บูชาสถูปของพระศาสดา ด้วยสิ่งของนั้น.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจึงท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก
ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในราชสกุลที่พรั่งพร้อมด้วยเครื่องประดับ
ในมคธรัฐ พอพระราชบิดาสวรรคตแล้ว ทรงดำรงอยู่ในพระราชสมบัติ
แล้ว ทรงเป็นผู้ยินดีมักมากในกามทั้งหลายอย่างเหลือประมาณอยู่.

พระศาสดา ทรงออกจากพระมหากรุณาสมาบัติแล้ว ทรงตรวจ
ดูสัตวโลก ทอดพระเนตรเห็นเธอผู้มาปรากฏในข่ายคือพระญาณแล้ว ทรง
คำนึงว่า จักมีอะไรหนอแล ดังนี้ ทรงทราบว่า พระราชาพระองค์นี้
ได้ฟังอสุภกถาในสำนักของเราแล้ว จะเป็นผู้มีจิตคลายความกำหนัดใน
กามทั้งหลายเสียได้ พอทรงผนวชแล้วจักได้บรรลุพระอรหัต ดังนี้แล้ว
เสด็จไปในที่นั้นโดยอากาศแล้ว ตรัสอสุภกถาแก่พระราชาองค์นั้น ด้วย
พระคาถา1เหล่านี้ว่า :-
ร่างกายนี้ เต็มไปด้วยของอากูล และของอันเป็น
มลทินต่าง ๆ มีหลุมคูถใหญ่เป็นที่เกิด เป็นดุจบ่อน้ำครำ
อันมีมานาน เป็นดุจฝีใหญ่ เป็นดุจแผลใหญ่ เต็มไปด้วย
หนองและเลือด เต็มไปด้วยหลุมคูถ มีน้ำไหลออก
เป็นนิตย์ มีของเน่าไหลออกทุกเมื่อ กายอันเปื่อยเน่านี้
รัดรึงด้วยเอ็นใหญ่ 60 เส้น ฉาบทาด้วยเครื่องฉาบทา
คือเนื้อ หุ้มห่อด้วยเสื้อ คือหนัง เป็นของหาประโยชน์
มิได้ เป็นของสืบต่อกันด้วยร่างกระดูกเกี่ยวร้อยด้วยด้าย
คือเส้นเอ็น เปลี่ยนอิริยาบถได้ เพราะยังมีเครื่องประกอบ
พร้อม นรชนผู้ยังคลุกคลี อยู่ในกามคุณ เป็นผู้ตระเตรียม
ไปสู่ความตายเป็นนิตย์ เป็นผู้ตั้งอยู่ในที่ใกล้มัจจุราช
จักต้องทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้เอง กายนี้เอง อวิชชา
หุ้มห่อแล้ว ผูกรัดด้วยเครื่องผูก 4 ประการ จมอยู่ใน
ห้วงน้ำคือกิเลส ปกคลุมไว้ด้วยตาข่าย คือกิเลสอันนอน


1. ขุ. เถร. 26/ข้อ 374.

เนื่องอยู่ในสันดาน ประกอบแล้วในนิวรณ์ 5 เพียบพร้อม
ด้วยวิตก ประกอบด้วยรากเหง่าแห่งภพคือตัณหา ปกปิด
ด้วยเครื่องปกปิดคือโมหะ หมุนไปอยู่ด้วยเครื่องหมุน
คือกรรม ร่างกายนี้. ย่อมมีสมบัติกับวิบัติเป็นคู่กัน มี
ความเป็นต่าง ๆ กันเป็นธรรมดา ปุถุชนคนอันธพาล
เหล่าใด มายึดถือร่างกายนี้ว่าเป็นของเรา ย่อมยังสงสาร
อันน่ากลัวให้เจริญ ปุถุชนเหล่านั้นย่อมถือเอาภพใหม่อีก
กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิตเหล่าใด ละเว้นร่างกายนี้ อันฉาบ
ทาแล้วด้วยคูถ ดังบุรุษผู้ประสงค์ความสุขอยากมีชีวิตอยู่
เห็นอสรพิษแล้วหลีกหนีไปฉะนั้น กุลบุตรเหล่านั้น ละ
อวิชชาอันเป็นรากเหง่าแห่งภพแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ
จักปรินิพพาน.

พระราชาพระองค์นั้น ทรงสดับอสุภกถาจนแจ่มแจ้ง ถึงสภาวะ
แห่งสรีระอย่างแท้จริง ซึ่งขันธ์มีอาการเป็นอเนก ต่อพระพักตร์พระศาสดา
อึดอัด ละอาย รังเกียจ มีพระทัยสังเวชต่อร่างกายของพระองค์ ถวาย
บังคมพระศาสดาแล้ว ทูลขอบรรพชาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระ-
องค์พึงได้บรรพชาในสำนัก พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดาทรงมีรับสั่งให้
ภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้ ด้วยพระดำรัสว่า ภิกษุ เธอจงไป
จงให้พระราชานี้ได้บรรพชา อุปสมบทแล้วจึงมาเถิด.
ภิกษุรูปนั้น ให้ตจปัญจกกัมมัฏฐานแล้ว ให้พระราชาพระองค์นั้น
ได้รับบรรพชา พระราชาพระองค์นั้น ในขณะจรดมีดโกนเท่านั้น

ก็บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวไว้ในอปทาน1ว่า :-
เราได้คล้องผ้าอันวิจิตรหลายผืน ไว้ตรงหน้าพระสถูป
อันประเสริฐ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ
แล้วตั้งต้นกัลปพฤกษ์ไว้ เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือความ
เป็นเทวดาหรือมนุษย์ ในกำเนิดนั้น ๆ ต้นกัลปพฤกษ์
อันงาม ย่อมประดิษฐานอยู่ใกล้ประตูเรา เวลานั้น เราเอง
บริษัท เพื่อน และคนคุ้นเคย ได้ถือเอาผ้าจากต้นกัลป-
พฤกษ์นั้นมานุ่งห่ม ในกัปที่ 94 แต่กัปนี้ เราได้ตั้งต้น
กัลปพฤกษ์ไว้ ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้สึกทุคติเลย นี้เป็น
ผลแห่งการตั้งต้นกัลปพฤกษ์ และในกัปที่ 7 แต่กัปนี้ ได้
มีพระเจ้าจักรพรรดิ 8 พระองค์ ทรงพระนามว่า คุณวิเศษ
ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ มีพละมาก คุณวิเศษ
เหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา 4 ... ฯลฯ... พระพุทธศาสนา
เราได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็พระราชาบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้อุปสมบทแล้ว เข้าไปเฝ้า
พระศาสดา ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง เมื่อจะพยากรณ์ความเป็น
พระอรหัต จึงตรัสคาถาเหล่านั้นนั่นแลไว้. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ คาถา
เหล่านั้น จึงชื่อว่า เถรคาถา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นานากุลมลสมฺปุณฺโณ ความว่า อัน

1. ขุ. อ. 32/ข้อ 42.

เต็มไปด้วยของอาการต่าง ๆ และของอันเป็นมลทินมีส่วนต่างๆ คือเต็มไป
ด้วยส่วนที่ไม่สะอาดนานาชนิด มีผม และขน เป็นต้น.
หลุมคูถ ท่านเรียกว่า อุกการะ ในบทว่า มหาอุกฺการสมฺภโว นี้.
ครรภ์ของมารดา ท่านประสงค์ว่าหลุมคูถใหญ่ ในที่นี้ เพราะตลอดกาล
ที่อยู่ในครรภ์มารดา จะเป็นเช่นกับหลุมคูถที่อบอวลด้วยกลิ่นไม่สะอาด.
ครรภ์นั้นเป็นแดนเกิด คือเป็นที่อุบัติขึ้นแห่งสัตว์นั่น เหตุนั้นจึงชื่อว่า
มหาอุกการสัมภวะ มีหลุมคูถใหญ่เป็นที่เกิด.
บทว่า จนฺทนิกํว ความว่า สถานที่เป็นที่สำหรับเททิ้งน้ำไม่สะอาด
และมลทินแห่งครรภ์เป็นต้น ซึ่งเต็มไปด้วยของไม่สะอาดเพียงเข่า ที่เช่น
นั้น ชื่อว่า บ่อน้ำครำ.
บทว่า ปริปกฺกํ ได้แก่ เก่าแก่ มีมานาน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
แสดงว่า เปรียบเหมือนเมื่อฝนมีเม็ดโต ตกลงในฤดูร้อน ใกล้ประตูบ้าน
คนจัณฑาล สิ่งปฏิกูลอันเต็มไปด้วยซากศพนานาชนิด มีปัสสาวะ อุจจาระ
กระดูก หนัง เส้นเอ็น น้ำลาย และน้ำมูก เป็นต้น ประสมเข้ากับน้ำ
ก็จะขุ่นไปด้วยน้ำปนโคลน พอล่วงไป 2-3 วัน ก็เกิดเป็นหมู่หนอน
มีน้ำเดือดเป็นฟองเพราะถูกแสงพระอาทิตย์แผดเผา ข้างบนมีฟองน้ำและ
ต่อมน้ำผุดขึ้น มีสีคล้ำ มีกลิ่นเหม็นอย่างยิ่ง น่ารังเกียจ เป็นบ่อน้ำครำ
ไม่ควรจะเข้าไปใกล้ ทั้งไม่ควรจะเห็น ต้องยืนอยู่ห่าง ๆ, ร่างกายก็เป็น
เช่นนั้น. ชื่อว่า เป็นดุจฝีใหญ่ เพราะเปรียบเหมือนฝีใหญ่ เหตุมีการ
ผุดขึ้น เจริญ แก่รอบ และแตกไปเป็นสภาวะ มีความเกิดขึ้น แก่
และตายไป เพราะประกอบด้วยต้นเค้าคือความเป็นทุกข์ และเพราะ
หลั่งออกซึ่งสิ่งไม่สะอาด.

ชื่อว่าเป็นดุจแผลใหญ่ เพราะเปรียบเหมือนแผลใหญ่ เพราะต้อง
อดทนต่อแผล และเพราะเป็นที่หลั่งไหลออกซึ่งสิ่งไม่สะอาด มีทุกขเวทนา
ติดตาม.
บทว่า คูถกูเปน คาฬิโต ได้แก่ เต็มด้วยหลุมคูถ หรือเต็มด้วย
คูถ. บาลีว่า คูถกูปนิคาฬฺหิโต ดังนี้ก็มี, อธิบายว่า ไหลออกจาก
หลุมคูถ.
บทว่า อาโปปคฺฆรโณ กาโย สทา สนฺทติ ปูติกํ ความว่า
ร่างกายนี้ มีอาโปธาตุไหลออกเป็นปกติทุกเมื่อ, สรีระนั้นแล มีแต่สิ่ง
เปื่อยเน่า เช่น ดี เสมหะ เหงื่อ และมูตร เป็นต้น คือสิ่งไม่สะอาด
เท่านั้นไหลออกอยู่, ในกาลไหน ๆ สิ่งที่สะอาดไม่เคยไหลออกเลย.
บทว่า สฏฺฐิกณฺฑรสมฺพนฺโธ ความว่า ชื่อว่ารัดรึงด้วยเอ็นใหญ่
60 เส้น เพราะมีเส้นเอ็นใหญ่ 60 เส้น ผูกพันรัดรึงทุกแห่ง คือเส้นเอ็น
ที่รัดรึงสรีระ ตั้งแต่ส่วนบนแห่งคอ ที่ข้างหน้า ข้างหลัง ที่ข้างขวา
และข้างซ้าย แห่งสรีระ ที่ละ 5 เส้น รวม 20 เส้น, รัดรึงที่มือและ
เท้า ที่ข้างหน้ามือ และที่ข้างหลังมือ ที่ฝ่าเท้า และหลังเท้า ที่ละ 5 เส้น
รวมเป็น 40 เส้น. (มือ 1 ข้าง นับข้างหน้ามือ 5 รวมเป็น 10 ฉะนั้น
มือมี 2 ข้าง เท้ามี 2 ข้าง จึงรวมเส้นเอ็นได้ 40 เส้น ).
บทว่า มํสเลปนเลปิโต ได้แก่ ฉาบทาด้วยเครื่องฉาบทาคือเนื้อ,
อธิบายว่า ฉาบทาด้วยชิ้นเนื้อ 900 ชิ้น.
บทว่า จมฺมกญฺจุกสนฺนทฺโธ ได้แก่ หุ้มห่อคลุม ปกปิด ในที่
ทั้งปวงด้วยเสื้อคือหนัง.

บทว่า ปูติกาโย ได้แก่ ร่างกายที่มีกลิ่นเหม็นเน่า ทั่วทั้งหมด.
บทว่า นิรตฺถโก ได้แก่ ไม่มีประโยชน์, อธิบายว่า จริงอยู่
ร่างกายของหมู่สัตว์เหล่าอื่น จะพึงมีประโยชน์ได้ ก็ด้วยการจำแนกถึงคุณ
มีธรรมเป็นต้น. ร่างกายของมนุษย์ ไม่มีประโยชน์อย่างนั้นเลย.
บทว่า อฏฺฐิสงฺฆาตฆฏิโต ได้แก่ เป็นของสืบต่อกัน โดยการ
สืบต่อด้วยร่างแห่งกระดูก 300 กว่าท่อน.
บทว่า นฺหารุสุตฺตนิพนฺธโน ได้แก่ ร้อยพันแล้วด้วยเส้นเอ็น
900 เส้น อันเป็นเช่นกับเส้นด้าย.
บทว่า เนเกสํ สงฺคตีภาวา ความว่า สำเร็จอิริยาบถ มียืนเป็นต้น
เปรียบเหมือนยนต์ คือสรีระเปลี่ยนแปลงได้ก็ด้วยกลุ่มแห่งเส้นด้าย ที่ผูก
พันเกี่ยวข้องด้วยมหาภูตรูป 4 ชีวิตินทรีย์ ลมอัสสาสะ ลมปัสสาสะและ
วิญญาณ เป็นต้น.
บทว่า ธุวปฺปยาโต มรณาย ความว่า เป็นผู้เตรียมตัวเพื่อความ
ตายโดยส่วนเดียว. คือจำเดิมแต่เกิดมาก็ตกไป บ่ายหน้าไปสู่ความตาย.
ได้แก่ ตั้งแต่เกิดมาแล้วนั้นเอง ก็ตั้งอยู่ใกล้มัจจุราชคือความตาย.
บทว่า อิเธว ฉฑฺฑยิตฺวาน ความว่า อันสัตว์นี้ ทิ้งร่างกายไว้
ในโลกนี้นั้นแล แล้วก็ไปสู่สถานที่คนชอบใจ เพราะฉะนั้น ท่านจึง
แสดงว่า บุคคลไม่พึงทำความเกี่ยวข้อง แม้อย่างนี้ว่า เราพึงละร่างกาย
นี้ไป ดังนี้.
บทว่า อวิชฺชาย นิวุโต ได้แก่ ร่างกายนี้ถูกเครื่องปิดกั้นคืออวิชชา
หุ้มห่อแล้ว คือมีโทษเพราะถูกปิดกั้นไว้, อธิบายว่า โดยประการอื่น
ใครจะพึงรู้ความเกี่ยวข้องในข้อนี้ได้.

บทว่า จตุคนฺเถน ได้แก่ ผูกรัดด้วยคันถะเครื่องผูก 4 อย่าง มีเครื่อง
ผูกคืออภิชฌากายคันถะเป็นต้น. คือร้อยรัด โดยความเป็นเครื่องผูก.
บทว่า โอฆสํสีทโน ได้แก่ เป็นผู้จมลงในโอฆะ 4 มีกาโมฆะ
เป็นต้น โดยความเป็นที่ควรรวมลง, อธิบายว่า ชื่อว่า อนุสัย เพราะ
อรรถว่า นอนเนื่องในสันดาน โดยความที่ยังละไม่ได้, ได้แก่ กิเลส
อันนอนเนื่องอยู่ในสันดาน มีกามราคะเป็นต้น.
ชื่อว่า อนุสยาชาลโมตฺถโต เพราะปกคลุมคือครอบงำสัตว์เหล่านั้น
ไว้ด้วยตาข่าย. อักษรทำการต่อบท, ท่านทำทีฆะ กล่าวไว้ก็เพื่อ
สะดวกแก่รูปคาถา. ชื่อว่า ประกอบแล้วด้วยนิวรณ์ 5 เพราะประกอบ
แล้ว คือน้อมใจไปแล้ว ด้วยนิวรณธรรม 5 อย่าง มีกามฉันทะเป็นต้น,
ก็คำว่า ปญฺจนีวรเณ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ.
เพียบพร้อมแล้ว คือสมบูรณ์แล้ว ด้วยมิจฉาวิตก มีกามวิตกเป็นต้น
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เพียบพร้อมด้วยวิตก ประกอบด้วยมูลราก
แห่งภพคือตัณหา
คือถูกมูลรากแห่งภพคือตัณหาผูกพันไว้.
บทว่า โมหจฺฉาทนฉาทิโต ได้แก่ ปกคลุม ด้วยเครื่องปกปิด
คือสัมโมหะ. สวิญญาณกะนั้นทั้งหมด ท่านกล่าวหมายถึงกรัชกาย. จริงอยู่
อัตภาพที่มีวิญญาณครอง ท่านเรียกว่า กาย เช่นประโยคว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาในภพขาดสิ้นแล้ว ย่อมตั้งอยู่,
กายนี้เท่านั้นเป็นภายนอก มีนามรูป ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า เอวายํ วตฺตเต กาโย ความว่า กายนี้ ย่อมหมุนไป โดย
ประการที่กล่าวแล้วเป็นต้นว่า กายนี้เต็มไปด้วยมลทินอันอากูลต่าง ๆ และ
เป็นต้นว่า กายนี้ ถูกอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ดังนี้ ก็แล เมื่อหมุนไป ก็หมุน

ไปด้วยเครื่องหมุน คือกรรมที่คนทำดีและทำชั่วไว้ จึงหมุนไป คือท่องเที่ยว
ไปในสุคติและทุคติ เพราะฟุ้งไปโดยที่ไม่สามารถจะไปสู่แดนเกษมได้.
บทว่า สมฺปตฺติ จ วิปตฺยนฺตา ได้แก่ สมบัติที่มีอยู่ในร่างกายนี้
ย่อมมีวิบัติเป็นที่สุด. จริงอยู่ ความหนุ่มและความสาวทั้งหมด มีความ
แก่เป็นที่สุด, ความไม่มีโรคทั้งหมด มีความเจ็บไข้เป็นที่สุด, ชีวิตทั้งหมด
มีความตายเป็นที่สุด, ความประชุมแห่งสังขารทั้งหมด มีความแตกแยก
จากกันเป็นที่สุด. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นานาภาโว วิปชฺชติ
ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า นานาภาโว ได้แก่ ความเป็นต่างๆกัน คือความพลัดพราก
จากกัน. อธิบายว่า ร่างกายนั้นย่อมถึง คือย่อมบรรลุถึงความเป็นต่าง ๆ
กัน คือบางคราวด้วยอำนาจแห่งคนที่พลัดพรากจากไป, บางคราวด้วย
อำนาจแห่งสิ่งของที่จะต้องพลัดพรากจากไป.
บทว่า เยมํ กายํ มนายนฺติ ความว่า ปุถุชนคนอันธพาล
เหล่าใด มายึดถือร่างกายนี้ อันไม่งาม ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน เป็นทุกข์ หา
สาระมิได้ว่า สรีระนี้ เป็นของเรา ดังนี้ คือยังฉันทราคะให้เกิดขึ้น, ได้แก่
ย่อมยังสงสาร คือตัณหาให้เจริญ ด้วยการเกิดและการตายเป็นต้นบ่อย ๆ
เพราะคนมิใช่บัณฑิตพึงยินดีภัยอันน่ากลัวแต่ชาติเป็นต้น และนรกเป็นต้น
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปุถุชนคนอันธพาลเหล่านั้น ย่อมถือเอา
ภพใหม่อีก ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า เยมํ กายํ วิวชฺเชนฺติ คูถลิตฺตํว ปนฺนคํ ความว่า เปรียบ
เหมือนบุรุษผู้ประสงค์ความสุขอยากมีชีวิตอยู่ เห็นคูถแล้วหลีกหนี คือ
หลบไปเสีย เพราะเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ หรือเห็นอสรพิษแล้วหลีกหนี

คือเลี่ยงไปเสีย เพราะความกลัวเฉพาะหน้า ชื่อฉันใด กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิต
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน หลีกร่างกายนี้อันน่ารังเกียจ เพราะเป็นสิ่งไม่สะอาด
และอันมีภัยเฉพาะหน้า เพราะเป็นสภาพไม่เที่ยงเป็นต้น คือ ละด้วยการ
ประหารฉันทราคะเสีย การทิ้งซึ่งอวิชชาอันเป็นมูลรากแห่งภพ และตัณหา
ในภพ ละได้เด็ดขาด ต่อแต่นั้นก็เป็นผู้ไม่มีอาสวะโดยประการทั้งปวง
จักปรินิพพาน ด้วยสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และอนุปาทิเสสนิพพาน-
ธาตุ แล.
จบอรรถกถากัปปเถรคาถาที่ 5

6. อุปเสนวังคันตปุตตเถรคาถา



ว่าด้วยคาถาของพระอุปเสนวังคันตปุตตเถระ


[375] ภิกษุซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด ปราศจากเสียง
อื้ออึง เป็นที่อยู่อาศัยแห่งสัตว์ร้ายเพราะการหลีกเร้น
ออกเป็นเหตุ ภิกษุพึงเก็บผ้ามาจากกองหยากเยื่อ จาก
ป่าช้า จากตรอกน้อยตรอกใหญ่ แล้วทำเป็นผ้านุ่งห่ม
พึงทรงจีวรอันเศร้าหมอง ภิกษุควรทำใจให้ต่ำ คุ้มครอง
ทวาร สำรวมดีแล้ว เที่ยวไปบิณฑบาตตามลำดับตรอก
คือตามลำดับสกุล ภิกษุพึงยินดีด้วยของ ๆ ตนแม้จะเป็น
ของเศร้าหมอง ไม่พึงปรารถนารสอาหารอย่างอื่นมาก
เพราะใจของบุคคลผู้ติดในรสอาหาร ย่อมไม่ยินดีใน
ฌาน ภิกษุควรเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบ
สงัด เป็นมุนี ไม่คลุกคลีด้วยพวกคฤหัสถ์ และพวก
บรรพชิตทั้งสอง ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต ควรแสดงตนให้
เป็นดังคนบ้าและคนใบ้ ไม่ควรพูดมากในท่ามกลางสงฆ์
ไม่ควรเข้าไปกล่าวว่าใคร ๆ ควรละเว้นการเข้าไปกระทบ
กระทั่ง เป็นผู้สำรวมในพระปาติโมกข์ และพึงเป็นผู้รู้จัก
ประมาณในโภชนะ เป็นผู้ฉลาดในการเกิดขึ้นแห่งจิต
มีนิมิตอันถือเอาแล้ว พึงประกอบสมถะและวิปัสสนา
ตามเวลาอันสมควรอยู่เนือง ๆ พึงเป็นบัณฑิตผู้ถึงพร้อม